ปูนสดคืออะไร
ปูนสดไม่ว่ายี่ห้อะไร ทางที่ดีเวลากองเก็บปูน ไม่ควรวางกับพื้นที่อาจจมีมีน้ำได้ ควรจะมีการหนุนสูงขึ้นมาซัก 20 ซม เก็บในร่มไม่โดนฝน และไม่เก็บในห้องที่อับชื้น ปูนจะสดได้อีกนานครับ เวลาซื้อปูนจากร้านค้า สังเกตุด้วยว่าเก่าเก็บหรือไม่ ถ้าเก่าๆอาจจะมีบางส่วนเริ่มแข็งไปบ้างแล้ว (ลองทุบถุงดู) ก็ไม่ควรซื้อครับงานปูนสด
ปูนขาว (ต้องเป็นปูนจากหน้าเตา) ร่อนละเอียด 3 กิโลกรัม
ทราย (น้ำจืด) ร่อนละเอียด 1.5 กิโลกรัม
ใยพืช (โดยมากได้การนำกระดาษมาแช่น้ำ) 100 กรัม
กาวหนังควายตุ๋นรวมกับน้ำตาลทรายแดง โดยใช้กาวหนังควาย 0.5 ก.ก. น้ำตาล 1 ก.ก. รวมกับน้ำพอสมควร นำใส่หม้อตุ๋นจนละลายรวมกันนำส่วนผสมที่ได้มาใช้เพียง 150 กรัม
ข้าวเหนียวเปียก (ข้าวเหนียวต้มจนเละเปื่อย) 200 กรัม
น้ำ 1 กิโลกรัม
ครกตำปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ถึง 50 เซนติเมตรพร้อมสากตำปูน 1 ชุด
เสียมเหล็กหน้ากว้าง 2 ถึง 3 นิ้ว 1 อัน สำหรับกลับเนื้อปูนขณะตำปูน
เครื่องมือช่างปั้นปูนชนิดต่างๆ เช่นเกลียงใบข้าวขนาดต่างๆ, กระบะผสมปูนขนาดมือถือ, เกลียงไม้ฉาบปูนนาค, เกลียงทำคิ้วบัว ฯลฯ
ขั้นตอนการตำปูน
นำทราย, กระดาษ ลงตำในครกก่อนจนกระดาษแหลกแยกตัวจนป่นละเอียด
นำกาว, ข้าวเหนียวเปียก, น้ำ และปูนขาวลงรวมกันคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ลงมือตำเหยาะๆ เบาๆ ก่อนเพื่อกันไม่ให้ส่วนผสมฟุ้งกระจายกระฉอกออกนอกครก
เมื่อตำจนสังเกตว่าเนื้อปูนเริ่มรวมตัวกันดีไม่ฟุ้งกระจาย จึงลงมือตำด้วยจังหวะเร็วและแรงขึ้นเลื่อยๆ จนเนื้อปูนจับตัวกันเหนียว เมื่อนำมาบีบดูจะรู้สึกเหนียวนุ่มมือและเนื้อปูนอยู่ตัวไม่เหลวจนไหลตัวหรือไม่คงรูปแสดงว่าเสร็จขั้นตอนการตำปูน
เนื้อปูนที่ตำเสร็จแล้วต้องผ่านการหักเนื้อปูน (เก็บไว้ในที่อับชื้นไม่ถูกอากาศจนปูนแห้ง)
ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยการนำเนื้อปูนใส่ลงในถุงพลาสติกปิดปากถุงให้สนิทและนำถุงปูนไปเก็บรวมกันไว้ในโอ่งที่มีน้ำหล่อไว้พอสมควรให้เกิดความชุมชื้น จะทำให้เนื้อปูนเหนียวใช้งานได้ดีมากขึ้นยิ่งเก็บนานก็ยิ่งดีด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดเป็นคุณสมบัติที่ดีอีกอย่างหนึ่งของปูนไทยคือสามารถหมักเก็บไว้ใช้งานได้นานๆ
ปูนจีนหรือปูนน้ำทั่งอิ้ว
วัสดุอุปกรณ์
ปูนขาว (ต้องเป็นปูนจากหน้าเตา) ร่อนละเอียด 3 กิโลกรัม
ชันผง 200 กรัม
น้ำมันทั่งอิ้ว 900 กรัม
อุปกรณ์อื่นๆ เหมือนกับของปูนไทย
ขั้นตอนการตำปูน
นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในครกตำปูน คุกเคล้าสวนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจนทั่วถึงแล้วใช้ฝ่ามือกดส่วนผสมให้ยุบตัวลงในครกกดลงให้แน่นแสดงว่าน้ำมันทั่งอิ้วผสมรวมกับเนื้อปูนได้ที่แล้ว ลงมือตำเหยาะๆ เบาๆ ก่อนเพื่อกันไม่ให้ส่วนผสมฟุ้งกระจายกระฉอกออก เมื่อตำจนสังเกตว่าเนื้อปูนเริ่มรวมตัวกันดีไม่ฟุ้งกระจายและจับตัวกันเป็นเกล็ดเล็กๆ จึงลงมือตำด้วยจังหวะเร็วและแรงขึ้นเลื่อยๆ เกล็ดจะรวมตัวเป็นแผ่นและค่อยจับตัวกันเป็นก้อนจนไม่ติดก้นครกและตำนวดต่อไปจนผิวเนื้อปูนค่อนข้างเนียนเรียบมีรอยแตกแยกน้อยเมื่อนำมาบีบดูจะสังเกตเห็นรอยนิ้วมือได้ชัด ก็สามารถนำไปใช้งานได้ทันทีไม่ต้องหมักเนื้อเหมือนปูนไทย เพราะปูนชนิดนี้ไม่สามารถหมักเก็บไว้ได้นานๆ เนื้อปูนจะค่อยๆ แห้งและแข็งตัวโดยไม่สามารถป้องกันการแข็งตัวได้เลยแม้แต่การเก็บไว้ในถุงพลาสติกก็ตาม
เนื่องจากการที่ไม่สามารถเก็บรักษาเนื้อไม่ให้แห้งตัวได้นี้เอง ช่างปั้นจะต้องสำนึกรู้ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับการปฏิบัติงานปั้นในแต่ละครั้งและตำปูนให้พอเหมาะแก่การปั้นในครั้งนั้นโดยลดส่วนผสมแต่ละส่วนลงให้พอดี
ลักษณะความแตกต่างของเนื้อปูนทั้งสองชนิด
เนื้อปูนไทยมีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพกรำแดดกรำฝนได้ดีกว่าปูนจีน เนื่องจากเนื้อของปูนไทยสามารถระบายน้ำและความชื้นได้ดี น้ำไม่สามารถกัดเซาะเนื้อปูนได้ แต่เนื้อปูนจีนไม่ซึมน้ำเมื่อมีน้ำเซาะจะเก็บขังน้ำไว้จนทำให้เกิดการกัดเซาะเพิ่มขึ้นและทำให้ลวดลายชำรุดเสียหายขึ้นจึงนิยมนำเนื้อปูนไทยไว้ใช้กับการปั้นประดับทั้งภายในและภายนอกอาคารเช่นหน้าบันพระอุโบสถ,ช่อฟ้า, ใบระกา,หางหงส์บานพระ และองค์พระพุทธรูปเป็นต้น สำหรับปูนจีนนิยมนำเนื้อปูนไว้ใช้กับการปั้นประดับเฉพาะภายในอาคารเช่นบานประตู, บานหน้าต่างและพระแท่นรัตบัลลังก์เฉพาะส่วนที่เป็นลวดลายเป็นต้น
ลักษณะการนำเนื้อปูนทั้งสองชนิดไปใช้งาน
* นำไปใช้ปั้นลวดลายในงานศิลปกรรมไทยทุกรูปแบบ เช่น ลายนูนสูง, นูนต่ำหรือภาพลอยตัว
* นำไปอัดเป็นลวดลายด้วยแม่พิมพ์ตีลายเพื่อใช้ประดับลาย
* ใช้ทำเป็นเทือก (กาว) ในการประสานระหว่างลายเก่าและลายใหม่ โดยถ้าเป็นเทือกของปูนไทยก็นำเนื้อปูนไทยมาละลายน้ำบางส่วนเพิ่มส่วนผสมของกาวหนังควายและน้ำตาลลงไปทำให้เหนียวขึ้น ถ้าเป็นปูนจีนก็นำเนื้อปูนมาเพิ่มส่วนผสมของน้ำมันทั่งอิ้วลงไปจะทำให้เหนียวยิ่งขึ้นเช่นกัน
จากการที่งานช่างปั้นปูนสดเป็นงานที่มีการสืบทอดมานานแสนนานและเป็นสาขาช่างที่อาศัยความสามารถและทักษะฝีมือช่างชั้นสูงในการสร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมของประเทศชาติของเรามาแต่โบราณ จึงควรที่เราจะต้องอนุรักษ์และสืบทอดงานช่างแขนงนี้ไว้ให้คนรุ่นหลังสืบต่อไป
ที่มา:
iMacFrozen
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=73049
ปูนสดไม่ว่ายี่ห้อะไร ทางที่ดีเวลากองเก็บปูน ไม่ควรวางกับพื้นที่อาจจมีมีน้ำได้ ควรจะมีการหนุนสูงขึ้นมาซัก 20 ซม เก็บในร่มไม่โดนฝน และไม่เก็บในห้องที่อับชื้น ปูนจะสดได้อีกนานครับ เวลาซื้อปูนจากร้านค้า สังเกตุด้วยว่าเก่าเก็บหรือไม่ ถ้าเก่าๆอาจจะมีบางส่วนเริ่มแข็งไปบ้างแล้ว (ลองทุบถุงดู) ก็ไม่ควรซื้อครับงานปูนสด
งานช่างปูนสด
งานช่างปูนสดเป็นประณีตศิลป์แขนงหนึ่งซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณคู่กับแผ่นดินไทย ถ้าแบ่งตามลักษณะศิลปสากลแล้วงานช่างแขนงนี้จัดอยู่ในประเภทงานประติมากรรมคืองานประเภทสามมิติมีทั้งภาพนูนสูง, นูนต่ำ และลอยตัวใช้ขบวนการปั้นแบบนำเนื้อวัสดุเข้าและออกตามแบบสากลแต่แทนที่จะปั้นด้วยดินเหนียว, ดินน้ำมันหรือปูนพลาสเตอร์กลับใช้ปั้นด้วยปูนตำซึ่งเป็นภูมิปัญญาของช่างไทยแต่โบราณที่ไม่เหมือนชนชาติอื่น ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่ชนชาติไทยมาทุกยุคทุกสมัยจนแม้ในปัจจุบัน แสดงออกให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองและเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
ลักษณะการใช้งานของงานช่างปูนสดโดยมากมมักสัมพันธ์กันกับงานด้านสถาปัตยกรรมเป็นส่วนใหญ่แต่สมัยโบราณมักใช้ในการสร้างวัดสร้างกำแพงเมือง หอรบ มาจนถึงยุครัตนโกสินทร์มีการนำมาสร้างบ้านเรือนของสามัญชนบ้าง ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแรงกว่าอาคารที่สร้างด้วยไม้พอสมควรตลอดจนนำไปใช้ในการสร้างศิลปะวัตถุรูปเคารพเช่นองค์พระพุทธรูปเป็นต้น ช่างปูนปั้นสดจะใช้วัสดุในการปั้นงานอยู่สามชนิดได้แก่ ชนิดแรกปูนไทย มักใช้ภายนอกอาคารความทนทานต่อสภาพกรำแดดและกรำฝนได้ดี ชนิดที่สองปูนจีนมักเหมาะแก่การใช้ภายในอาคารสามารถปั้นเก็บรายละเอียดได้ดี ชนิดที่สามปูนฝรั่งได้แก่ปูนซีเมนต์ซึ่งสามารถนำมาใช้ปั้นสดได้เช่นเดียวกันแต่ไม่สะดวกเท่าปูนสองชนิดแรก ไม่ว่าปูนชนิดใดช่างปั้นจะต้องมีทักษะสูงมีความเข้าใจในขบวนการใช้งานของวัสดุที่ใช้ปั้นเป็นอย่างดีผลงานจะออกมาสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะขออธิบายแต่เพียงปูนสองชนิดแรกที่มีมาแต่โบราณก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ปูนไทย
วัสดุอุปกรณ์ปูนขาว (ต้องเป็นปูนจากหน้าเตา) ร่อนละเอียด 3 กิโลกรัม
ทราย (น้ำจืด) ร่อนละเอียด 1.5 กิโลกรัม
ใยพืช (โดยมากได้การนำกระดาษมาแช่น้ำ) 100 กรัม
กาวหนังควายตุ๋นรวมกับน้ำตาลทรายแดง โดยใช้กาวหนังควาย 0.5 ก.ก. น้ำตาล 1 ก.ก. รวมกับน้ำพอสมควร นำใส่หม้อตุ๋นจนละลายรวมกันนำส่วนผสมที่ได้มาใช้เพียง 150 กรัม
ข้าวเหนียวเปียก (ข้าวเหนียวต้มจนเละเปื่อย) 200 กรัม
น้ำ 1 กิโลกรัม
ครกตำปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ถึง 50 เซนติเมตรพร้อมสากตำปูน 1 ชุด
เสียมเหล็กหน้ากว้าง 2 ถึง 3 นิ้ว 1 อัน สำหรับกลับเนื้อปูนขณะตำปูน
เครื่องมือช่างปั้นปูนชนิดต่างๆ เช่นเกลียงใบข้าวขนาดต่างๆ, กระบะผสมปูนขนาดมือถือ, เกลียงไม้ฉาบปูนนาค, เกลียงทำคิ้วบัว ฯลฯ
ขั้นตอนการตำปูน
นำทราย, กระดาษ ลงตำในครกก่อนจนกระดาษแหลกแยกตัวจนป่นละเอียด
นำกาว, ข้าวเหนียวเปียก, น้ำ และปูนขาวลงรวมกันคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ลงมือตำเหยาะๆ เบาๆ ก่อนเพื่อกันไม่ให้ส่วนผสมฟุ้งกระจายกระฉอกออกนอกครก
เมื่อตำจนสังเกตว่าเนื้อปูนเริ่มรวมตัวกันดีไม่ฟุ้งกระจาย จึงลงมือตำด้วยจังหวะเร็วและแรงขึ้นเลื่อยๆ จนเนื้อปูนจับตัวกันเหนียว เมื่อนำมาบีบดูจะรู้สึกเหนียวนุ่มมือและเนื้อปูนอยู่ตัวไม่เหลวจนไหลตัวหรือไม่คงรูปแสดงว่าเสร็จขั้นตอนการตำปูน
เนื้อปูนที่ตำเสร็จแล้วต้องผ่านการหักเนื้อปูน (เก็บไว้ในที่อับชื้นไม่ถูกอากาศจนปูนแห้ง)
ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยการนำเนื้อปูนใส่ลงในถุงพลาสติกปิดปากถุงให้สนิทและนำถุงปูนไปเก็บรวมกันไว้ในโอ่งที่มีน้ำหล่อไว้พอสมควรให้เกิดความชุมชื้น จะทำให้เนื้อปูนเหนียวใช้งานได้ดีมากขึ้นยิ่งเก็บนานก็ยิ่งดีด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดเป็นคุณสมบัติที่ดีอีกอย่างหนึ่งของปูนไทยคือสามารถหมักเก็บไว้ใช้งานได้นานๆ
ปูนจีนหรือปูนน้ำทั่งอิ้ว
วัสดุอุปกรณ์
ปูนขาว (ต้องเป็นปูนจากหน้าเตา) ร่อนละเอียด 3 กิโลกรัม
ชันผง 200 กรัม
น้ำมันทั่งอิ้ว 900 กรัม
อุปกรณ์อื่นๆ เหมือนกับของปูนไทย
ขั้นตอนการตำปูน
นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในครกตำปูน คุกเคล้าสวนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจนทั่วถึงแล้วใช้ฝ่ามือกดส่วนผสมให้ยุบตัวลงในครกกดลงให้แน่นแสดงว่าน้ำมันทั่งอิ้วผสมรวมกับเนื้อปูนได้ที่แล้ว ลงมือตำเหยาะๆ เบาๆ ก่อนเพื่อกันไม่ให้ส่วนผสมฟุ้งกระจายกระฉอกออก เมื่อตำจนสังเกตว่าเนื้อปูนเริ่มรวมตัวกันดีไม่ฟุ้งกระจายและจับตัวกันเป็นเกล็ดเล็กๆ จึงลงมือตำด้วยจังหวะเร็วและแรงขึ้นเลื่อยๆ เกล็ดจะรวมตัวเป็นแผ่นและค่อยจับตัวกันเป็นก้อนจนไม่ติดก้นครกและตำนวดต่อไปจนผิวเนื้อปูนค่อนข้างเนียนเรียบมีรอยแตกแยกน้อยเมื่อนำมาบีบดูจะสังเกตเห็นรอยนิ้วมือได้ชัด ก็สามารถนำไปใช้งานได้ทันทีไม่ต้องหมักเนื้อเหมือนปูนไทย เพราะปูนชนิดนี้ไม่สามารถหมักเก็บไว้ได้นานๆ เนื้อปูนจะค่อยๆ แห้งและแข็งตัวโดยไม่สามารถป้องกันการแข็งตัวได้เลยแม้แต่การเก็บไว้ในถุงพลาสติกก็ตาม
เนื่องจากการที่ไม่สามารถเก็บรักษาเนื้อไม่ให้แห้งตัวได้นี้เอง ช่างปั้นจะต้องสำนึกรู้ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับการปฏิบัติงานปั้นในแต่ละครั้งและตำปูนให้พอเหมาะแก่การปั้นในครั้งนั้นโดยลดส่วนผสมแต่ละส่วนลงให้พอดี
ลักษณะความแตกต่างของเนื้อปูนทั้งสองชนิด
เนื้อปูนไทยมีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพกรำแดดกรำฝนได้ดีกว่าปูนจีน เนื่องจากเนื้อของปูนไทยสามารถระบายน้ำและความชื้นได้ดี น้ำไม่สามารถกัดเซาะเนื้อปูนได้ แต่เนื้อปูนจีนไม่ซึมน้ำเมื่อมีน้ำเซาะจะเก็บขังน้ำไว้จนทำให้เกิดการกัดเซาะเพิ่มขึ้นและทำให้ลวดลายชำรุดเสียหายขึ้นจึงนิยมนำเนื้อปูนไทยไว้ใช้กับการปั้นประดับทั้งภายในและภายนอกอาคารเช่นหน้าบันพระอุโบสถ,ช่อฟ้า, ใบระกา,หางหงส์บานพระ และองค์พระพุทธรูปเป็นต้น สำหรับปูนจีนนิยมนำเนื้อปูนไว้ใช้กับการปั้นประดับเฉพาะภายในอาคารเช่นบานประตู, บานหน้าต่างและพระแท่นรัตบัลลังก์เฉพาะส่วนที่เป็นลวดลายเป็นต้น
ลักษณะการนำเนื้อปูนทั้งสองชนิดไปใช้งาน
* นำไปใช้ปั้นลวดลายในงานศิลปกรรมไทยทุกรูปแบบ เช่น ลายนูนสูง, นูนต่ำหรือภาพลอยตัว
* นำไปอัดเป็นลวดลายด้วยแม่พิมพ์ตีลายเพื่อใช้ประดับลาย
* ใช้ทำเป็นเทือก (กาว) ในการประสานระหว่างลายเก่าและลายใหม่ โดยถ้าเป็นเทือกของปูนไทยก็นำเนื้อปูนไทยมาละลายน้ำบางส่วนเพิ่มส่วนผสมของกาวหนังควายและน้ำตาลลงไปทำให้เหนียวขึ้น ถ้าเป็นปูนจีนก็นำเนื้อปูนมาเพิ่มส่วนผสมของน้ำมันทั่งอิ้วลงไปจะทำให้เหนียวยิ่งขึ้นเช่นกัน
จากการที่งานช่างปั้นปูนสดเป็นงานที่มีการสืบทอดมานานแสนนานและเป็นสาขาช่างที่อาศัยความสามารถและทักษะฝีมือช่างชั้นสูงในการสร้างสรรค์ผลงานด้านสถาปัตยกรรมของประเทศชาติของเรามาแต่โบราณ จึงควรที่เราจะต้องอนุรักษ์และสืบทอดงานช่างแขนงนี้ไว้ให้คนรุ่นหลังสืบต่อไป
ที่มา:
iMacFrozen
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=73049