ผมตั้งใจเขียนเกร็ดข้อมูลงานก่อสร้างบ้านโดยรวบรวมจากคำถามของเพื่อนพ้อง และจากเจ้าของบ้านที่สอบถามทางเวบไซท์ รวมถึงจากลูกค้าของ M-techhome ประสบการณ์จริงเลยครับ
เนื่องจากได้ยินบ่อยมากว่า ผู้รับเหมาบางรายไม่ค่อยซื่อสัตย์ ทำให้เจ้าของบ้านต้องหาข้อมูล สอบถามจากผู้รู้ (บางคนรู้บ้างไม่รู้บ้าง รู้ผิดบ้าง) แล้วก็เอามายืนยันกับช่างหรือวิศวกรคุมงาน
จริงๆ แล้ว ผมว่า ผู้รับเหมา วิศวกร หรือ สถาปนิก ยินดีตอบทุกคำถามของคุณๆ อยู่แล้ว เพียงแต่ บางเรื่องที่เป็นสากลปฏิบัติเจ้าของบ้านรู้ไว้บ้างจะได้คุยกับเพื่อนบ้านได้ไงครับ
1. เริ่มตั้งแต่ ขั้นแรกของการปลูกบ้าน...การตอกเสาเข็ม เลยนะครับ การทำให้เสาเข็มลงไปอยู่ใต้พื้นดินเพื่อเป็นรากฐานอันมั่นคงแข็งแรงของบ้านสามารถทำได้ 2 อย่าง คือ ใช้เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ ครับ เสาเข็มตอก ประหยัดเงินกว่า แต่มีข้อเสียคือ หากบริเวณใกล้เคียงมีตึกรามบ้านช่อง คุณไปตอกเสาเข็มซึ่งมีแรงสั่นสะเทือนเยอะ บ้านข้างๆ อาจร้าว ก็ต้องไปตามชดใช้ให้เค้า ส่วนเสาเข็มเจาะนั้น ราคาสูงกว่า แต่การสั่นสะเทือนน้อยกว่าครับ ส่วนเรื่องจะใช้ เสาเข็มกี่ต้น ยาวเท่าไหร่นั้น ก็ต้องให้วิศวกรคำนวนอีกที
2. ศัตรูคู่สังคมไทยที่คุณต้องระวังตลอดเวลาคือ "ปลวก" ทุกหนทุกแห่งที่คุณอยู่ ปลวกอาจไปเยี่ยมเยือนได้ อาจเป็นเพราะธรรมชาติของคนไทยที่นิยมนำไม้มาสร้าง ใช้ปูพื้นหรือ อย่างน้อยก็ตกแต่งบ้าน ปลวกก็เลยเดินทัพตามมารับประทานไม้กัน วิธีป้องกันที่พอจะทำได้และน่าจะทำ แม้จะต้องจ่ายเพิ่มสักหน่อยแต่คุ้ม ก็คือ ราดน้ำยากันปลวกก่อนเทพื้น และ ทาน้ำยากันปลวกที่ชิ้นไม้ก่อนนำมาทำเป็นโครงเคร่า หรือประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้ บริการที่ m-techhome มีให้คือ เดินท่อน้ำยากำจัดปลวกใต้อาคาร
3. การบ่มปูนหรือการบ่มคอนกรีต เพื่อให้คอนกรีตแข็งตัวจากข้างในสู่ข้างนอกเป็นไปเพื่อความแข็งแรงของเนื้อคอนกรีต ซึ่งควรใช้เวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ในการบ่ม ลองนึกถึงการบ่มมะม่วงสุกนะครับ ถ้าจะให้มะม่วงสุกดีสีสวยน่ารับประทาน ก็ต้องให้มะม่วงสุกจากข้างใน หากดูเหมือนสุกสีสวยแค่ข้างนอกแต่ข้างในสุกๆ ดิบๆ ก็ไม่ดีใช่ไหมครับ
4. การก่อผนังนั้น ควรนำอิฐราดน้ำให้ชุ่มก่อน เพื่อไม่ให้อิฐแย่งน้ำจากปูนก่อ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผนังแตกร้าวภายหลัง
5. อิฐมวลเบาหรืออิฐมอญดีกว่ากัน? อันนี้ตอบฟันธงไม่ได้ว่าแบบไหนดีกว่ากัน เพราะต่างก็มีข้อดีด้วยกันทั้งคู่ อิฐมวลเบาราคาแพงกว่า ราคาขนาด 20 x 60 ซม.ขึ้นไปถึงเกือบ 30 บาท/ก้อน แล้วครับ (ณ กค. 2546) แต่บริษัทผู้ผลิตบอกว่า มีความสามารถกันความร้อนได้ดี ลดทอนเสียงได้มาก ทนไฟ ก้อนใหญ่ก่อได้เร็ว ฯลฯ ที่ผมมักแนะนำลูกค้าคือเรื่องน้ำหนักเบา ลดภาระงานโครงสร้าง และตามหลักการแล้วกันความร้อนได้ดี แต่ผมเบื่อมากตรงที่ต้องจองสินค้าจากโรงงานล่วงหน้าเป็นเดือนๆ หากไปซื้อตามร้านวัสดุก่อสร้างก็จะถูกโก่งราคามาก สำหรับอิฐมอญก็แข็งแรง มีความหนาแน่นดีครับ ราคาถูกกว่า ช่างคุ้นเคยมากกว่า อิฐมอญดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมวลเบาทำให้เวลาฉาบมีปัญหาเรื่องร้าวน้อยกว่า
6. คนไทยส่วนใหญ่นิยมปูพื้นชั้นล่างด้วยหินแกรนิต พื้นชั้นบนเป็นพื้นไม้ปาร์เก้ ประตูหน้าบ้านไม้สัก มีข้อคิดดังนี้ครับ หลังจากที่ Designer สอบถามลูกค้าแล้วว่า ทำไมต้องใช้หินแกรนิตเท่านั้นในการปูพื้นชั้นล่าง ได้ความว่า เป็นความเชื่อของคนจีนที่ว่า หินนั้นเย็นอยู่บ้านที่ปูพื้นด้วยหินแล้วจะอยู่เย็นเป็นสุข บางคนตอบไปในแนวทางเดียวกันว่า อยากได้ความรู้สึกเย็น และ สวยเรียบ จึงเลือกใช้แกรนิต แต่ทั้งนี้ แกรนิตที่สวยจริงๆ มักจะราคาแพง หรือ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ M-techhome จึงขอแนะนำทางเลือกอื่น เช่น เลือกใช้กระเบื้องที่มีการออกแบบลายหินธรรมชาติ ก็สามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านงบประมาณที่น้อยกว่า ได้ความรู้สึกเย็นและลวดลายแบบหินธรรมชาติ ด้วยครับ นอกจากนี้ ความคิดที่ว่า ไม้สักเป็นไม้ที่แข็งที่สุดและปลวกไม่กินนั้น ไม่เป็นความจริงนะครับ ไม้มะค่าแข็งกว่าไม้สักอีก และที่สำคัญ ปลวกก็ยังบอกว่า ไม้สักอร่อยพอๆ กับไม้ชนิดอื่นครับ ทั้งนี้ ที่ไม้สักราคาแพงกว่าไม้ชนิดอื่น อาจเป็นเพราะมีลวดลายของไม้ที่สวยงามครับ
7. ปูพื้นด้วยไม้นอกระวังเรื่องการโก่งและบิดงอด้วยครับ เนื่องจาก ไม้บีช ไม้เชอรี่ ฯลฯ มาจากประเทศเมืองหนาว ความชื้นในอากาศน้อย ทำให้ไม่จำเป็นต้องอบไม้ไล่ความชื้นให้แห้งมากนัก เมื่อเรา import เข้ามาใช้ในบ้านเราที่มีความร้อนชื้นสูงได้สักระยะ ไม้ก็จะแข่งกันบิดและโก่งตัว ซึ่งกำลังสำแดงเดชให้เห็นในปัจจุบัน
8. คิดเรื่องทิศสักนิดก่อนออกแบบให้ผนังบ้านเป็นกระจกใส ต่างประเทศนิยมให้บ้านหรืออาคารเป็นกระจกใสเพื่อรับแสงแดดให้มากที่สุด แต่แสงแดดที่บ้านเมืองเขาอุ่นสบายครับ ขณะที่บ้านเราแดดแผดเผามาก เพราะฉะนั้น หากจะติดตั้งกระจกใส ระวังอย่าให้รับแสงแดดยามบ่ายหรือทางทิศตะวันตก บ้านจะร้อนเกินไปครับ ข้อดีของกระจกก็คือ ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับธรรมชาติภายนอก ได้รับแสงธรรมชาติ ประหยัดไฟฟ้า
9. การวางแนวรั้วหน้าบ้านและข้างบ้านนั้นต่างกันนะครับ รั้วหน้าบ้านมักจะต้องติดกับทางสาธารณะ จึงต้องวางแนวรั้วให้ขอบรั้วด้านนอกอยู่ในขอบเขตของที่ดินของเรา ห้ามล่วงล้ำไปในที่สาธารณะขณะที่ รั้วข้างบ้านซึ่งติดกับเพื่อนบ้านนั้น จะวางแนวกึ่งกลางไว้ที่แนวแบ่งเขตที่ดิน ก็เหมือนกับ share รั้วกันนั่นแหละครับ
10. ทางที่ดีอย่าทำถังเก็บน้ำใต้ดินเลย เนื่องจาก เมื่อคุณฝังถังน้ำไว้ใต้ดินแล้ว เวลาท่อน้ำแตก หรือถังแตก คุณจะไม่มีทางรู้ได้เลย และสาเหตุการแตกก็อาจเกิดได้หลายประการครับ เช่น เมื่อดินทรุดตัว โครงสร้างที่รับน้ำหนักถังที่ทำจากเสาเข็มสั้น ก็อาจทรุดตัวไม่เท่ากันทำให้เกิดการฉีกขาดพังทลายได้
11. ถ้าลูกค้าท่านใดเป็นนักอ่านหนังสือตัวยง กรุณาบอกแต่ต้นนะครับ เพราะวิศวกรจะได้ออกแบบโครงสร้างเผื่อไว้สำหรับตู้หนังสือของคุณ หลายคนอาจไม่ทราบว่าตู้หนังสือของคุณที่สูง 2-3 เมตรนั้น หนักเป็นตันนะครับ ปกติบ้านพักอาศัยทั่วไปถูกออกแบบให้รับน้ำหนักแค่ 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หากต้องมาหน้ามืดรับน้ำหนักเป็นตันต่อตารางเมตรซึ่งเกินความสามารถนั้น บ้านอาจจะแตกร้าวหรือทรุดได้ บอกสถาปนิกหรือนักออกแบบตั้งแต่ต้นเลยครับ ว่าจุดไหนของบ้านที่คุณอยากทำเป็นห้องทำงาน หรือบริเวณใดที่อยากจัดวางตู้หนังสือ
12. อยากได้ห้องใต้หลังคา (attic) แล้วจะป้องกันไม่ให้เป็นห้องเตาอบได้อย่างไร ความจริงพื้นที่ใต้หลังคาเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประโยชน์ใช้สอย โดยเสียค่าโครงสร้าง ผนัง พื้น ไม่แพงขึ้นมากนัก แถมมีประโยชน์เป็นฉนวนกันความร้อนจากหลังคาสู่ตัวบ้านได้อีก แต่ปัญหาความร้อนจากหลังคาดันไปตกอยู่ห้องใต้หลังคาแทน ดังนั้น ควรบุฉนวนกันความร้อนหนาเป็นพิเศษใต้แปหรือใต้จันทัน และทำฝ้าด้วยยิปซั่มบอร์ด นอกจากนี้ ควรให้มีอากาศถ่ายเทในห้องได้ตลอดเวลา ทำเป็นบานเกล็ดติดตายก็เพียงพอต่อการถ่ายเทอากาศแล้ว เพราะห้องใต้หลังคาอยู่สูงจะมีลมแรงกว่าธรรมดา แต่ต้องบุมุ้งลวดไว้กันนกด้วย
13. คำถามยอดฮิต ทำไมบ้านส่วนต่อเติมทรุด ตอบง่ายๆว่า การเชื่อมต่อโครงสร้างเก่ากับโครงสร้างใหม่นั้นไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะมีการทรุดตัวไม่เท่ากันแน่นอน หากต้องการต่อเติมไม่ว่าจะเป็นห้องครัวหลังบ้าน โรงรถ ฯลฯ ปรึกษาวิศวกรก่อนซักนิดครับ
14. การเตรียมงานที่ดีทำให้คุณภาพงานออกมาดี โดยเฉพาะเรื่องการทาสี เชื่อผมเถอะครับ มากกว่า 80 % ของการที่สภาพสีที่ผนังเสียหายก่อนกำหนดเกิดจากการเตรียมพื้นผิวไม่ดี เช่น ไม่แห้งสนิท มีฝุ่นเกาะ ฯลฯ ดังนั้น จึงควรมีการเตรียมพื้นผิวก่อนทาสีที่ดีเพียงพอ ตลอดจนทาครบจำนวนครั้งตามมาตรฐาน ที่เหลืออีก 20% เป็นเรื่องของคุณภาพสีที่คุณต้องดูแลให้ผู้รับเหมาเลือกซื้อยี่ห้อและชนิดของสีที่มีกำหนดกันตั้งแต่แรก
15. ไม้สักชิ้นใหญ่แพงกว่าไม้มะค่า แต่ปาร์เก้ไม้มะค่าแพงกว่าไม้สัก เพราะไม้มะค่าไม่นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ ไม่นำมาตัดซอยเป็นชิ้นเล็กๆ ดังนั้น หากคุณต้องการปาร์เก้ไม้มะค่า โรงงานจึงต้องซอยไม้ชิ้นใหญ่ให้เป็นปาร์เก้ ราคาปาร์เก้ไม้มะค่าจึงถีบตัวสูงขึ้นทดแทนที่ต้องสูญเสียมูลค่า และค่าแรงงานไป
16. ระหว่างงานปูพื้นกระเบื้อง แน่ใจก่อนนะครับว่าพื้นกระเบื้องแห้งดีแล้วก่อนที่จะเดินดูงานก่อสร้าง เพราะหากไปเหยียบเข้า กระเบื้องอาจร่อนได้ ช่างต้องมาปูใหม่ เสียเวลา เสียแรง เสียของ เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
เนื่องจากได้ยินบ่อยมากว่า ผู้รับเหมาบางรายไม่ค่อยซื่อสัตย์ ทำให้เจ้าของบ้านต้องหาข้อมูล สอบถามจากผู้รู้ (บางคนรู้บ้างไม่รู้บ้าง รู้ผิดบ้าง) แล้วก็เอามายืนยันกับช่างหรือวิศวกรคุมงาน
จริงๆ แล้ว ผมว่า ผู้รับเหมา วิศวกร หรือ สถาปนิก ยินดีตอบทุกคำถามของคุณๆ อยู่แล้ว เพียงแต่ บางเรื่องที่เป็นสากลปฏิบัติเจ้าของบ้านรู้ไว้บ้างจะได้คุยกับเพื่อนบ้านได้ไงครับ
1. เริ่มตั้งแต่ ขั้นแรกของการปลูกบ้าน...การตอกเสาเข็ม เลยนะครับ การทำให้เสาเข็มลงไปอยู่ใต้พื้นดินเพื่อเป็นรากฐานอันมั่นคงแข็งแรงของบ้านสามารถทำได้ 2 อย่าง คือ ใช้เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ ครับ เสาเข็มตอก ประหยัดเงินกว่า แต่มีข้อเสียคือ หากบริเวณใกล้เคียงมีตึกรามบ้านช่อง คุณไปตอกเสาเข็มซึ่งมีแรงสั่นสะเทือนเยอะ บ้านข้างๆ อาจร้าว ก็ต้องไปตามชดใช้ให้เค้า ส่วนเสาเข็มเจาะนั้น ราคาสูงกว่า แต่การสั่นสะเทือนน้อยกว่าครับ ส่วนเรื่องจะใช้ เสาเข็มกี่ต้น ยาวเท่าไหร่นั้น ก็ต้องให้วิศวกรคำนวนอีกที
2. ศัตรูคู่สังคมไทยที่คุณต้องระวังตลอดเวลาคือ "ปลวก" ทุกหนทุกแห่งที่คุณอยู่ ปลวกอาจไปเยี่ยมเยือนได้ อาจเป็นเพราะธรรมชาติของคนไทยที่นิยมนำไม้มาสร้าง ใช้ปูพื้นหรือ อย่างน้อยก็ตกแต่งบ้าน ปลวกก็เลยเดินทัพตามมารับประทานไม้กัน วิธีป้องกันที่พอจะทำได้และน่าจะทำ แม้จะต้องจ่ายเพิ่มสักหน่อยแต่คุ้ม ก็คือ ราดน้ำยากันปลวกก่อนเทพื้น และ ทาน้ำยากันปลวกที่ชิ้นไม้ก่อนนำมาทำเป็นโครงเคร่า หรือประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้ บริการที่ m-techhome มีให้คือ เดินท่อน้ำยากำจัดปลวกใต้อาคาร
3. การบ่มปูนหรือการบ่มคอนกรีต เพื่อให้คอนกรีตแข็งตัวจากข้างในสู่ข้างนอกเป็นไปเพื่อความแข็งแรงของเนื้อคอนกรีต ซึ่งควรใช้เวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ในการบ่ม ลองนึกถึงการบ่มมะม่วงสุกนะครับ ถ้าจะให้มะม่วงสุกดีสีสวยน่ารับประทาน ก็ต้องให้มะม่วงสุกจากข้างใน หากดูเหมือนสุกสีสวยแค่ข้างนอกแต่ข้างในสุกๆ ดิบๆ ก็ไม่ดีใช่ไหมครับ
4. การก่อผนังนั้น ควรนำอิฐราดน้ำให้ชุ่มก่อน เพื่อไม่ให้อิฐแย่งน้ำจากปูนก่อ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผนังแตกร้าวภายหลัง
5. อิฐมวลเบาหรืออิฐมอญดีกว่ากัน? อันนี้ตอบฟันธงไม่ได้ว่าแบบไหนดีกว่ากัน เพราะต่างก็มีข้อดีด้วยกันทั้งคู่ อิฐมวลเบาราคาแพงกว่า ราคาขนาด 20 x 60 ซม.ขึ้นไปถึงเกือบ 30 บาท/ก้อน แล้วครับ (ณ กค. 2546) แต่บริษัทผู้ผลิตบอกว่า มีความสามารถกันความร้อนได้ดี ลดทอนเสียงได้มาก ทนไฟ ก้อนใหญ่ก่อได้เร็ว ฯลฯ ที่ผมมักแนะนำลูกค้าคือเรื่องน้ำหนักเบา ลดภาระงานโครงสร้าง และตามหลักการแล้วกันความร้อนได้ดี แต่ผมเบื่อมากตรงที่ต้องจองสินค้าจากโรงงานล่วงหน้าเป็นเดือนๆ หากไปซื้อตามร้านวัสดุก่อสร้างก็จะถูกโก่งราคามาก สำหรับอิฐมอญก็แข็งแรง มีความหนาแน่นดีครับ ราคาถูกกว่า ช่างคุ้นเคยมากกว่า อิฐมอญดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมวลเบาทำให้เวลาฉาบมีปัญหาเรื่องร้าวน้อยกว่า
6. คนไทยส่วนใหญ่นิยมปูพื้นชั้นล่างด้วยหินแกรนิต พื้นชั้นบนเป็นพื้นไม้ปาร์เก้ ประตูหน้าบ้านไม้สัก มีข้อคิดดังนี้ครับ หลังจากที่ Designer สอบถามลูกค้าแล้วว่า ทำไมต้องใช้หินแกรนิตเท่านั้นในการปูพื้นชั้นล่าง ได้ความว่า เป็นความเชื่อของคนจีนที่ว่า หินนั้นเย็นอยู่บ้านที่ปูพื้นด้วยหินแล้วจะอยู่เย็นเป็นสุข บางคนตอบไปในแนวทางเดียวกันว่า อยากได้ความรู้สึกเย็น และ สวยเรียบ จึงเลือกใช้แกรนิต แต่ทั้งนี้ แกรนิตที่สวยจริงๆ มักจะราคาแพง หรือ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ M-techhome จึงขอแนะนำทางเลือกอื่น เช่น เลือกใช้กระเบื้องที่มีการออกแบบลายหินธรรมชาติ ก็สามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านงบประมาณที่น้อยกว่า ได้ความรู้สึกเย็นและลวดลายแบบหินธรรมชาติ ด้วยครับ นอกจากนี้ ความคิดที่ว่า ไม้สักเป็นไม้ที่แข็งที่สุดและปลวกไม่กินนั้น ไม่เป็นความจริงนะครับ ไม้มะค่าแข็งกว่าไม้สักอีก และที่สำคัญ ปลวกก็ยังบอกว่า ไม้สักอร่อยพอๆ กับไม้ชนิดอื่นครับ ทั้งนี้ ที่ไม้สักราคาแพงกว่าไม้ชนิดอื่น อาจเป็นเพราะมีลวดลายของไม้ที่สวยงามครับ
7. ปูพื้นด้วยไม้นอกระวังเรื่องการโก่งและบิดงอด้วยครับ เนื่องจาก ไม้บีช ไม้เชอรี่ ฯลฯ มาจากประเทศเมืองหนาว ความชื้นในอากาศน้อย ทำให้ไม่จำเป็นต้องอบไม้ไล่ความชื้นให้แห้งมากนัก เมื่อเรา import เข้ามาใช้ในบ้านเราที่มีความร้อนชื้นสูงได้สักระยะ ไม้ก็จะแข่งกันบิดและโก่งตัว ซึ่งกำลังสำแดงเดชให้เห็นในปัจจุบัน
8. คิดเรื่องทิศสักนิดก่อนออกแบบให้ผนังบ้านเป็นกระจกใส ต่างประเทศนิยมให้บ้านหรืออาคารเป็นกระจกใสเพื่อรับแสงแดดให้มากที่สุด แต่แสงแดดที่บ้านเมืองเขาอุ่นสบายครับ ขณะที่บ้านเราแดดแผดเผามาก เพราะฉะนั้น หากจะติดตั้งกระจกใส ระวังอย่าให้รับแสงแดดยามบ่ายหรือทางทิศตะวันตก บ้านจะร้อนเกินไปครับ ข้อดีของกระจกก็คือ ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับธรรมชาติภายนอก ได้รับแสงธรรมชาติ ประหยัดไฟฟ้า
9. การวางแนวรั้วหน้าบ้านและข้างบ้านนั้นต่างกันนะครับ รั้วหน้าบ้านมักจะต้องติดกับทางสาธารณะ จึงต้องวางแนวรั้วให้ขอบรั้วด้านนอกอยู่ในขอบเขตของที่ดินของเรา ห้ามล่วงล้ำไปในที่สาธารณะขณะที่ รั้วข้างบ้านซึ่งติดกับเพื่อนบ้านนั้น จะวางแนวกึ่งกลางไว้ที่แนวแบ่งเขตที่ดิน ก็เหมือนกับ share รั้วกันนั่นแหละครับ
10. ทางที่ดีอย่าทำถังเก็บน้ำใต้ดินเลย เนื่องจาก เมื่อคุณฝังถังน้ำไว้ใต้ดินแล้ว เวลาท่อน้ำแตก หรือถังแตก คุณจะไม่มีทางรู้ได้เลย และสาเหตุการแตกก็อาจเกิดได้หลายประการครับ เช่น เมื่อดินทรุดตัว โครงสร้างที่รับน้ำหนักถังที่ทำจากเสาเข็มสั้น ก็อาจทรุดตัวไม่เท่ากันทำให้เกิดการฉีกขาดพังทลายได้
11. ถ้าลูกค้าท่านใดเป็นนักอ่านหนังสือตัวยง กรุณาบอกแต่ต้นนะครับ เพราะวิศวกรจะได้ออกแบบโครงสร้างเผื่อไว้สำหรับตู้หนังสือของคุณ หลายคนอาจไม่ทราบว่าตู้หนังสือของคุณที่สูง 2-3 เมตรนั้น หนักเป็นตันนะครับ ปกติบ้านพักอาศัยทั่วไปถูกออกแบบให้รับน้ำหนักแค่ 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หากต้องมาหน้ามืดรับน้ำหนักเป็นตันต่อตารางเมตรซึ่งเกินความสามารถนั้น บ้านอาจจะแตกร้าวหรือทรุดได้ บอกสถาปนิกหรือนักออกแบบตั้งแต่ต้นเลยครับ ว่าจุดไหนของบ้านที่คุณอยากทำเป็นห้องทำงาน หรือบริเวณใดที่อยากจัดวางตู้หนังสือ
12. อยากได้ห้องใต้หลังคา (attic) แล้วจะป้องกันไม่ให้เป็นห้องเตาอบได้อย่างไร ความจริงพื้นที่ใต้หลังคาเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประโยชน์ใช้สอย โดยเสียค่าโครงสร้าง ผนัง พื้น ไม่แพงขึ้นมากนัก แถมมีประโยชน์เป็นฉนวนกันความร้อนจากหลังคาสู่ตัวบ้านได้อีก แต่ปัญหาความร้อนจากหลังคาดันไปตกอยู่ห้องใต้หลังคาแทน ดังนั้น ควรบุฉนวนกันความร้อนหนาเป็นพิเศษใต้แปหรือใต้จันทัน และทำฝ้าด้วยยิปซั่มบอร์ด นอกจากนี้ ควรให้มีอากาศถ่ายเทในห้องได้ตลอดเวลา ทำเป็นบานเกล็ดติดตายก็เพียงพอต่อการถ่ายเทอากาศแล้ว เพราะห้องใต้หลังคาอยู่สูงจะมีลมแรงกว่าธรรมดา แต่ต้องบุมุ้งลวดไว้กันนกด้วย
13. คำถามยอดฮิต ทำไมบ้านส่วนต่อเติมทรุด ตอบง่ายๆว่า การเชื่อมต่อโครงสร้างเก่ากับโครงสร้างใหม่นั้นไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะมีการทรุดตัวไม่เท่ากันแน่นอน หากต้องการต่อเติมไม่ว่าจะเป็นห้องครัวหลังบ้าน โรงรถ ฯลฯ ปรึกษาวิศวกรก่อนซักนิดครับ
14. การเตรียมงานที่ดีทำให้คุณภาพงานออกมาดี โดยเฉพาะเรื่องการทาสี เชื่อผมเถอะครับ มากกว่า 80 % ของการที่สภาพสีที่ผนังเสียหายก่อนกำหนดเกิดจากการเตรียมพื้นผิวไม่ดี เช่น ไม่แห้งสนิท มีฝุ่นเกาะ ฯลฯ ดังนั้น จึงควรมีการเตรียมพื้นผิวก่อนทาสีที่ดีเพียงพอ ตลอดจนทาครบจำนวนครั้งตามมาตรฐาน ที่เหลืออีก 20% เป็นเรื่องของคุณภาพสีที่คุณต้องดูแลให้ผู้รับเหมาเลือกซื้อยี่ห้อและชนิดของสีที่มีกำหนดกันตั้งแต่แรก
15. ไม้สักชิ้นใหญ่แพงกว่าไม้มะค่า แต่ปาร์เก้ไม้มะค่าแพงกว่าไม้สัก เพราะไม้มะค่าไม่นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ ไม่นำมาตัดซอยเป็นชิ้นเล็กๆ ดังนั้น หากคุณต้องการปาร์เก้ไม้มะค่า โรงงานจึงต้องซอยไม้ชิ้นใหญ่ให้เป็นปาร์เก้ ราคาปาร์เก้ไม้มะค่าจึงถีบตัวสูงขึ้นทดแทนที่ต้องสูญเสียมูลค่า และค่าแรงงานไป
16. ระหว่างงานปูพื้นกระเบื้อง แน่ใจก่อนนะครับว่าพื้นกระเบื้องแห้งดีแล้วก่อนที่จะเดินดูงานก่อสร้าง เพราะหากไปเหยียบเข้า กระเบื้องอาจร่อนได้ ช่างต้องมาปูใหม่ เสียเวลา เสียแรง เสียของ เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
Tag :
ความรู้ปูน,
เทคนิคก่อสร้าง