เทคโนโลยีในการผลิต คอนกรีตมวลเบา
คอนกรีตมวลเบาที่ใช้เทคโนโลยีออโตเครป (Autoclaved Aerated Concrete) เริ่มจากการนำส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนขาว ทราย ยิปซั่ม น้ำ และสาร อลูมิเนียม มาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม แล้วจึงทำให้แข็งตัวด้วยเครื่องอบไอน้ำ ความดันสูง โดยฟองอากาศในเนื้อวัสดุเกิดจากอากาศเข้าไปแทนที่แก๊สไฮโดรเจนที่ฟู ขึ้นมาจากปฏิกิริยาของผงอลูมิเนียมกับปูนขาว มีลักษณะเป็นฟองอากาศเป็นแบบปิด ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งคอนกรีตมวลเบาที่ได้จากการผลิตรูปแบบนี้ยังมีอัตราการซึมน้ำที่ค่อน ข้างสูง หากนำไปใช้กับปูนก่อฉาบทั่วๆไป ตัววัสดุจะดูดน้ำจากปูนก่อฉาบทำให้เกิดรอย แตกร้าวขึ้นได้ จึงต้องใช้ปูนก่อฉาบพิเศษสำหรับคอนกรีตมวลเบาโดยเฉพาะ สำหรับคอนกรีตมวลเบาที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ตัวอย่างเช่น คอนกรีตมวลเบา Q- CON, ซุปเปอร์บล๊อก, ไทยคอน เป็นต้น
คอนกรีตมวลเบาที่ใช้ การผสมสารเพิ่มฟองอากาศ โดยใส่น้ำยาดังกล่าวลงไป ผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย และน้ำ ใช้เครื่องอัดอากาศทำให้เกิดฟองอากาศ เล็กๆมากมายกระจายทั่วเนื้อวัสดุโดยสม่ำเสมอและไม่เชื่อมต่อกัน ก่อนนำไปขึ้นบล็อก ผ่านเครื่องอบ ออกมาเป็นบล็อกคอนกรีตมวลเบานำไปใช้งานต่อไป เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตที่มีฟองอากาศปิดแบบสมบูรณ์ อีกทั้งไม่มีปูนขาวผสม(ไม่ยุ่ย น้ำ) ทำให้มีอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่าการผลิตแบบออโตเครปประมาณ 10-15% คอนกรีตมวลเบาที่ได้จึงใช้ร่วมกับปูนก่อฉาบชนิดธรรมดาได้เช่นเดียวกับการก่อด้วยอิฐ มอญ อีกทั้งสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งของเนื้อวัสดุมากขึ้น โดยการปรับเพิ่มส่วนผสม ของปูนซีเมนต์ ทำให้สามารถตอกตะปูกับผนังได้เช่นเดียวกับผนังอิฐมอญด้วยเช่นกัน คอนกรีตมวลเบาที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เช่น บล็อกมวลเบา เคบล็อก,คอนกรีตมวล เบาแอลคอน เป็นต้น
ที่มาข้อมูล : นิตยสารโฮมบายเออร์ไกด์ ฉบับเดือน ก.ค.2548
คอลัมน์ “พื้นจรดเพดาน” โดย...สมพันธ์ ราชรักษา : bidett@yahoo.com
ขอขอบพระคุณในความกรุณาที่ให้ความรู้นี้ในที่นี้ด้วย
คอนกรีตมวลเบาที่ใช้เทคโนโลยีออโตเครป (Autoclaved Aerated Concrete) เริ่มจากการนำส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนขาว ทราย ยิปซั่ม น้ำ และสาร อลูมิเนียม มาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม แล้วจึงทำให้แข็งตัวด้วยเครื่องอบไอน้ำ ความดันสูง โดยฟองอากาศในเนื้อวัสดุเกิดจากอากาศเข้าไปแทนที่แก๊สไฮโดรเจนที่ฟู ขึ้นมาจากปฏิกิริยาของผงอลูมิเนียมกับปูนขาว มีลักษณะเป็นฟองอากาศเป็นแบบปิด ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งคอนกรีตมวลเบาที่ได้จากการผลิตรูปแบบนี้ยังมีอัตราการซึมน้ำที่ค่อน ข้างสูง หากนำไปใช้กับปูนก่อฉาบทั่วๆไป ตัววัสดุจะดูดน้ำจากปูนก่อฉาบทำให้เกิดรอย แตกร้าวขึ้นได้ จึงต้องใช้ปูนก่อฉาบพิเศษสำหรับคอนกรีตมวลเบาโดยเฉพาะ สำหรับคอนกรีตมวลเบาที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ตัวอย่างเช่น คอนกรีตมวลเบา Q- CON, ซุปเปอร์บล๊อก, ไทยคอน เป็นต้น
คอนกรีตมวลเบาที่ใช้ การผสมสารเพิ่มฟองอากาศ โดยใส่น้ำยาดังกล่าวลงไป ผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย และน้ำ ใช้เครื่องอัดอากาศทำให้เกิดฟองอากาศ เล็กๆมากมายกระจายทั่วเนื้อวัสดุโดยสม่ำเสมอและไม่เชื่อมต่อกัน ก่อนนำไปขึ้นบล็อก ผ่านเครื่องอบ ออกมาเป็นบล็อกคอนกรีตมวลเบานำไปใช้งานต่อไป เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตที่มีฟองอากาศปิดแบบสมบูรณ์ อีกทั้งไม่มีปูนขาวผสม(ไม่ยุ่ย น้ำ) ทำให้มีอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่าการผลิตแบบออโตเครปประมาณ 10-15% คอนกรีตมวลเบาที่ได้จึงใช้ร่วมกับปูนก่อฉาบชนิดธรรมดาได้เช่นเดียวกับการก่อด้วยอิฐ มอญ อีกทั้งสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งของเนื้อวัสดุมากขึ้น โดยการปรับเพิ่มส่วนผสม ของปูนซีเมนต์ ทำให้สามารถตอกตะปูกับผนังได้เช่นเดียวกับผนังอิฐมอญด้วยเช่นกัน คอนกรีตมวลเบาที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เช่น บล็อกมวลเบา เคบล็อก,คอนกรีตมวล เบาแอลคอน เป็นต้น
ปัจจุบันมีการพัฒนาคอนกรีตมวลเบารูปแบบใหม่ๆขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้น คือ การสอดไส้ฉนวนกันความร้อนไว้ด้านในบล็อก เทคโนโลยีของผู้ผลิตคอนกรีตมวลเบา COOL BLOCK ซึ่งฉนวน Expanded Polystyrene ที่อยู่ตรงกลางจะทำหน้าที่กันความ ร้อนและความชื้นเข้าสู่ภายในบ้าน ทำให้มีอัตราการนำความร้อนที่ต่ำกว่าคอนกรีตมวล เบาทั่วไปถึง 3 เท่า และมีอัตราการดูดซึมน้ำที่ต่ำกว่าคอนกรีตมวลเบาทั่วไป 15%
……………………………………………………………………………………………ที่มาข้อมูล : นิตยสารโฮมบายเออร์ไกด์ ฉบับเดือน ก.ค.2548
คอลัมน์ “พื้นจรดเพดาน” โดย...สมพันธ์ ราชรักษา : bidett@yahoo.com
ขอขอบพระคุณในความกรุณาที่ให้ความรู้นี้ในที่นี้ด้วย