ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงในที่(Post-Tension)

ข้อดีในการก่อสร้างพื้นคอนกรีตอัดแรงในที่


1.สร้างพื้นที่ที่มีช่วงห่างเสา (SPAN) ได้มากกว่า 
     พื้นคอนกรีตอัดแรงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคาร ที่มีช่วงห่างเสามาก (ประมาณ 6.50-15.00 ม.) ทำ ให้จำนวนเสาในอาคารลดลง และมีเนื้อที่ใช้สอยกว้าง ขวางกว่า

2.ลดความสูงของอาคารได้
     ชั้นละประมาณ 0.30-0.50 เมตร ทำให้สามารถ ลดปริมาณงานกำแพง ทั้งกำแพงห้องและรอบอาคาร นอกจากนั้นสามารถขนาดเสา และ shear wall ลงได้ เนื่องจากรับแรงลมน้อยกว่า

3.การก่อสร้างรวดเร็วกว่า 
     แต่ละชั้นสามารถสร้างเสร็จภายในเวลา 7-10 วัน เนื่องจากความง่ายในการตั้งไม้แบบท้องเรียบ, จำนวน เสาน้อยกว่า, เหล็กเสริมธรรมดาเป็นเหล็กท่อนตรง ทั้งหมด ไม่มีเหล็กปลอกและการวางลวด

4.ประหยัดค่าก่อสร้างกว่า
     เพราะงานทุกอย่างเป็นไปอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และใช้วัสดุกำลังสูง เช่น คอนกรีต, ลวดอัดแรงกำลังสูง ซึ่งราคาแพงกว่าเพียงเล็กน้อย แต่กำลังสูงกว่ามาก

5.ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บวัสดุ
     เช่น เหล็กเสริม ไม้แบบ วัสดุเหล่านี้อาจจะส่ง เข้าหน่วยงาน และยกขึ้นชั้นที่จะทำงานได้เลยไม่จำ เป็นต้องสต็อกของ หรือเตรียมงานมากมาย จึงเหมาะ กับการก่อสร้างในพื้นที่จำกัด

6.จัดพื้นที่ใช้สอยภายในได้ง่ายกว่า
     เพราะสามารถก่ออิฐได้บนพื้นโดยตรง ทำให้ สะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตำแหน่งการกั้นห้อง ทั้งขณะก่อสร้างและภายหลัง

7.จัดพื้นที่จอดรถได้มากกว่า
     เพราะความสูงต่อชั้นน้อยทำให้ทางขึ้นลงของที่ จอดรถสั้นลง

8.ไม่จำเป็นต้องมีฝ้าเพดาน
     โดยมีความสวยงาม (ผิวเรียบ) เหมือนมีฝ้าเพดาน

คอนกรีตจะต้องมีกำลังอัดประลัยไม่น้อยกว่า 320 กก./ตร.ซม. (Cylinder) เมื่อมีอายุ ครบ 28 วัน และไม่น้อยกว่า 240 กก./ตร.ซม. (Cylinder) เมื่อทำการอัดแรง (Stressing) ลวดอัดแรงกำลังสูง ( PC Stand ) เป็น 7- Wire Stress Relieved Uncoated Stand Grade 270 k ชนิด Low Relaxation ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.7 มม. ( 1/2 นิ้ว ) ตามมาตรฐาน ASTM A416 และ มอก.420 Unbonded Tendon ลวดอัดแรงกำลังสูง (PC Stand) ต้องผ่านกรรมวิธี Extruder กล่าว คือ เคลือบด้วยจารบีชนิด Lithium Base และห่อหุ้มด้วย High Density Polyethylene  ความหนาไม่น้อยกว่า 1 มม.อย่างต่อเนื่องตลอด ความยาวของลวด Bonded Tendon 4.1 ท่อร้อยลวดอัดแรง Corrugated Duct จะต้องผลิตขึ้นมาจาก Galvanized Steel Strip หนาไม่น้อยกว่า 0.3 มม.มีลักษณะผิวเป็นลอนทั้ง ภายในและภายนอกท่อ เพื่อให้มี Bonding ระหว่างลวดอัดแรงกับคอนกรีต 4.2 Grouting ต้องใช้ Portland Cement Type 1 สมอยึด ( Anchorage ) สมอยึดลวดอัดแรง จะ ต้องมีกำลังยึดลวดอัดแรงไม่น้อยกว่า 95 % ของ แรงดึงประลัยระบุของลวดอัดแรงกำลังสูง และต้อง สามารถยึดลวดอัดแรงไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดอายุการใช้งานของโครงสร้าง

     อนึง สำหรับสมอยึดของระบบ Unbonded Tendon จะต้องมีคุณสมบัติรับกำลังล้าอย่างเพียง พอ โดยสามารถรับแรงกระทำครบวงจร 60%-66%-60% ของกำลังดึงประลัยของลวด อัดแรงที่ความถี่ 10 รอบ/วินาที ได้ไม่น้อยกว่า 2,000,000 รอบ โดยไม่วิบัติ

Back To Top