CPAC Sulphate Resisting Concrete
โครงสร้างคอนกรีตทั่วไปที่ต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีสารซัลเฟต เช่น ในดิน หรือน้ำใต้ดินน้ำเสียจากบ้านเรือน จากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากโรงงานผลิตสารเคมีบางประเภท จะเกิดปัญหาการผุกร่อน พองตัว และแตกร้าว อย่างรุนแรง ทำให้โครงสร้างไม่สามารถใช้งานตามที่ออกแบบไว้ได้ในที่สุด ดังนั้นการเลือกใช้คอนกรีตที่สามารถทนทานต่อความเสียหายจากซัลเฟตได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องพิจารณา เป็นลำดับแรกสำหรับโครงสร้างดังกล่าว ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของ ไตรคัลเซียมซิลิเกต(C3S)ไดคัลเซียมซิลิเกต (C2S) และไตรแคลเซียมอลูมิเนต (C3A) ในน้ำปูนซีเมนต์กับน้ำจะก่อให้เกิดสารประกอบแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) แคลเซียมอลูมิเนตไฮเดรต (CAH) และแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH)
กระบวนการกัดกร่อนของซัลเฟตจะเริ่มจากซัลเฟตอิออนของโซเดียมซัลเฟต (Na2So4) และ แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSo4) แพร่กระจายเข้าในโพรงคอนกรีตแล้วทำปฏิกิริยากับสารประกอบ Ca(OH)2 และ CAH ที่เหลือจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น เกิดเป็นยิปซั่ม และคัลเซียมโฟอลูมิเนต Ettringite สารประกอบ ยิปซั่ม และ Ettringite ที่เกิดขึ้นนี้จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากเดิมกว่า 2 เท่า ทำให้เกิดการขยายตัวของซีเมนต์เพสท์จนแตกร้าว หลังการแตกร้าว น้ำและความชื้นจะซึมผ่านรอยแตกเหล่านี้เข้าทำลายเหล็กเสริมทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิม และพองตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าวมากยิ่งขึ้น จนสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุดและสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กคือพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมจะลดน้อยลงด้วย นอกจากนั้นปฏิกิริยาของ MgSo4 ยังก่อให้เกิดการสลายตัวของ CSH ทำให้ความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตลดลงอีกด้วย จากการวิจัยเกี่ยวกับความเสียหายจากซัลเฟตในคอนกรีตของทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคอย่างต่อเนื่องโดยนำปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการกัดกร่อนมาพิจารณาอย่างละเอียด
ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตที่มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตได้สูงสุด และเหมาะกับการใช้งานในประเทศ
CPAC Sulphate Resisting Concrete คือคอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย และพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตสูงสุด ด้วยหลักการลดปริมาณรวมของ CAH และ Ca(OH)2 ที่เป็นสาเหตุหลักของความเสียหาย โดยการผสมวัสดุปอซโซลานในส่วนผสมคอนกรีตในระดับที่เหมาะสมประกอบกับการออกแบบส่วนผสมจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคให้มีอัตราส่วนน้ำต่อตัวเชื่อมประสานที่ต่ำที่สุด และมีปริมาณซีเมนต์ในระดับที่เหมาะสม นับเป็นวิธีการแก้ปัญหาความเสียหายจากซัลเฟตที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
โครงสร้างคอนกรีตทั่วไปที่ต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีสารซัลเฟต เช่น ในดิน หรือน้ำใต้ดินน้ำเสียจากบ้านเรือน จากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากโรงงานผลิตสารเคมีบางประเภท จะเกิดปัญหาการผุกร่อน พองตัว และแตกร้าว อย่างรุนแรง ทำให้โครงสร้างไม่สามารถใช้งานตามที่ออกแบบไว้ได้ในที่สุด ดังนั้นการเลือกใช้คอนกรีตที่สามารถทนทานต่อความเสียหายจากซัลเฟตได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องพิจารณา เป็นลำดับแรกสำหรับโครงสร้างดังกล่าว ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของ ไตรคัลเซียมซิลิเกต(C3S)ไดคัลเซียมซิลิเกต (C2S) และไตรแคลเซียมอลูมิเนต (C3A) ในน้ำปูนซีเมนต์กับน้ำจะก่อให้เกิดสารประกอบแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) แคลเซียมอลูมิเนตไฮเดรต (CAH) และแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH)
กระบวนการกัดกร่อนของซัลเฟตจะเริ่มจากซัลเฟตอิออนของโซเดียมซัลเฟต (Na2So4) และ แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSo4) แพร่กระจายเข้าในโพรงคอนกรีตแล้วทำปฏิกิริยากับสารประกอบ Ca(OH)2 และ CAH ที่เหลือจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น เกิดเป็นยิปซั่ม และคัลเซียมโฟอลูมิเนต Ettringite สารประกอบ ยิปซั่ม และ Ettringite ที่เกิดขึ้นนี้จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากเดิมกว่า 2 เท่า ทำให้เกิดการขยายตัวของซีเมนต์เพสท์จนแตกร้าว หลังการแตกร้าว น้ำและความชื้นจะซึมผ่านรอยแตกเหล่านี้เข้าทำลายเหล็กเสริมทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิม และพองตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าวมากยิ่งขึ้น จนสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุดและสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กคือพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมจะลดน้อยลงด้วย นอกจากนั้นปฏิกิริยาของ MgSo4 ยังก่อให้เกิดการสลายตัวของ CSH ทำให้ความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตลดลงอีกด้วย จากการวิจัยเกี่ยวกับความเสียหายจากซัลเฟตในคอนกรีตของทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคอย่างต่อเนื่องโดยนำปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการกัดกร่อนมาพิจารณาอย่างละเอียด
ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตที่มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตได้สูงสุด และเหมาะกับการใช้งานในประเทศ
CPAC Sulphate Resisting Concrete คือคอนกรีตพิเศษที่ซีแพควิจัย และพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟตสูงสุด ด้วยหลักการลดปริมาณรวมของ CAH และ Ca(OH)2 ที่เป็นสาเหตุหลักของความเสียหาย โดยการผสมวัสดุปอซโซลานในส่วนผสมคอนกรีตในระดับที่เหมาะสมประกอบกับการออกแบบส่วนผสมจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของซีแพคให้มีอัตราส่วนน้ำต่อตัวเชื่อมประสานที่ต่ำที่สุด และมีปริมาณซีเมนต์ในระดับที่เหมาะสม นับเป็นวิธีการแก้ปัญหาความเสียหายจากซัลเฟตที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง