ขับเคลื่อนโดย Blogger.

คอนกรีตชายฝั่งทะเลซีแพค

            โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องสัมผัสน้ำทะเล น้ำกร่อยหรืออยู่บริเวณชายฝั่ง รวมทั้งโครงสร้างใต้ดินบริเวณนั้นจะประสบปัญหาความเสียหายอย่างมากจากสภาพแวดล้อม ดังนั้นในการออกแบบให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานตามที่ต้องการจะต้องคำนึงถึงความต้านทานความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งคอนกรีตถือว่าเป็นส่วนสำคัญเนื่องจากเป็น "ด่านแรก" ของโครงสร้างที่จะต้านทานความเสียหาย


เดิมมีความเข้าใจกันว่า คอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ประเภทที่ 5 ซึ่งมีปริมาณ C3A ที่ต่ำจะเหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสน้ำทะเล แต่เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบใน้ำทะเลโดยแท้จริงแล้วพบว่าวิธีการนี้ไม่เพียงพอเสียแล้ว ทั้งนี้เพราะในน้ำทะเล มีปริมาณซัลเฟตอยู่ประมาณ 10% ส่วนคลอไรด์นั้นกลับมีปริมาณถึง 90% ดังนั้นการคำนึงถึงทุกองค์ประกอบของน้ำทะเล ดูจะมีเหตุผลมากกว่าการพิจารณาแต่เพียงซัลเฟตเท่านั้น

นอกจากโครงสร้างสัมผัสน้ำทะเลแล้ว โครงสร้างที่สัมผัสไอทะเล ที่อาจจะอยู่ห่างชายฝั่งหลายกิโลเมตรก็ยังจัดว่าเป็นโครงสร้างที่ต้องคำนึงถึงความต้านทานต่อน้ำทะเลเช่นกัน เนื่องจากเกลือในอากาศสามารถแพร่ไปถึงโครงสร้างที่ห่างจากทะเลถึง 3 กิโลเมตร

คลอไรด์ สาเหตุสำคัญของการกัดกร่อนในเหล็กเสริม
คลอไรด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำทะเลจะซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีต โดยคลอไรด์อิสระ(Free Chloride) จะเป็นส่วนสำคัญ ทำให้เหล็กเสริมภายในเกิดสนิม สนิมเหล็กจะทำให้คอนกรีตสูญเสียแรงยึดเกาะกับเหล็กเสริม และจะขยายตัวดันให้คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมหลุดร่อนนอกจากนั้นพื้นที่หน้าตัดเหล็กเสริมก็จะลดลงจนทำให้โครงสร้างพังทลายได้

จากการวิจัย และศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเสียหายของคอนกรีตบริเวณชายฝั่งทะเล ทำให้ซีแพคสามารถพัฒนาCPAC Marine Concrete ให้มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมกับงานโครงสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล
โดยเฉพาะ

ความสามารถทนทานต่อการแพร่ของคลอไรด์ 
การเพิ่มความสามารถในการจับยึดคลอไรด์ในคอนกรีต(Chloride Binding Capacity) การใช้วัสดุเชื่อมประสานที่เหมาะสม ได้แก่ ปูนซีเมนต์ชนิดที่มีปริมาณ C3A เหมาะสม และวัสดุปอซโซลานจะช่วยลดการแพร่ของคลอไรด์

ความสามารถทนทานต่อแมกนีเซียมซัลเฟต ด้วยความทึบน้ำที่ดีเยี่ยมของ CPAC Marine Concrete แมกนีเซียมอิออนจะแพร่เข้าไปทำลาย CSH ได้ยาก นอกจากนั้น Ca(OH)2 ซึ่งเป็นสารประกอบที่ก่อให้เกิดการขยายตัวก็จะลดลงจากปฏิกริยาปอซโซลานด้วยเช่นกัน

ความสามารถทนทานต่อแรงกระทำทางกายภาพ คุณสมบัตินี้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถต้านทานต่อแรงกระแทกของคลื่นและการขัดสีของกรวด ทราย โดย CPAC Marine Concrete สามารถอัดแน่นได้ง่ายซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีเนื้อสม่ำเสมอ และได้ระยะหุ้มตามต้องการ ดังเห็นได้จากผลทดสอบความสามารถในการต้านทานการขัดสีของ CPAC Marine Concrete ที่มีค่าสูงกว่าคอนกรีตทั่วไปอย่างชัดเจน
Back To Top