ขับเคลื่อนโดย Blogger.

เกี่ยวกับอิฐมวลเบา

อิฐมวลเบา มีมากมายหลายประเภท อิฐมวลเบาที่ใช้วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่ต่างกันจะทำให้คุณสมบัติของอิฐมวลเบาแตกต่างกันด้วย อิฐมวลเบา โดยทั่วไปอาจแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.ระบบที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Non- Autoclaved System) ซึ่งจะแบ่งย่อยได้อีกเป็น 2 ประเภทคือ
     ประเภทที่1 ใช้วัสดุเบากว่ามาทดแทน เช่น ขี้เลื่อย ขี้เถ้า ชานอ้อย หรือเม็ดโฟมทำให้คอนกรีตมีน้ำหนักเบาขึ้น แต่จะมีอายุการใช้งานที่สั้นเสื่อมสภาพได้เร็ว และหากเกิดไฟไหม้สารเหล่านี้อาจเป็นพิษต่อผู้อาศัยและสิ่งแวดล้อม

     ประเภทที่ 2 ใช้สารเคมี (Cellular Lightweight Concrete) เพื่อให้เนื้อคอนกรีตฟู และทิ้งให้แข็งตัว คอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยการปรับปรุงสารปรับแต่ง และกระบวนการผลิตให้เหมาะสม ทำให้คอนกรีตประเภทนี้มีความนิยมอย่างเผยแพร่ เนื่องจากความยืดหยุ่นและสะดวกในการผลิต สามารถผลิตในงานสนามได้ ในรูปแบบของผนังหล่อกับที่ และการประยุกต์ใช้คอนกรีตประเภทนี้กับลักษณะงานต่างๆ

     คอนกรีตที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงนี้ส่วนใหญ่เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีเป็นสีปูนซีเมนต์ ต่างจากคอนกรีตที่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง ซึ่งจะมีเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นสีขาว

2. ระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Autoclaved System) ซึ่งแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภทคือ
     ประเภทที่ 1 Lime Base ใช้ปูนขาว ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตทำให้คุณภาพคอนกรีตที่ได้ไม่ค่อยสม่ำเสมอ มีการดูดซึมน้ำมากกว่า
     ประเภทที่ 2 Cement Base ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เป็นระบบที่นอกจาก จะช่วยให้คอนกรีตได้มาตรฐาน สม่ำเสมอแล้วยังช่วยให้เกิดการตกผลึก (Calcium Silicate) ในเนื้อคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีความแข็งแรง ทนทาน กว่าการผลิตในระบบอื่นมาก
Back To Top