ขับเคลื่อนโดย Blogger.

น้ำยาสร้างฟองโฟม

น้ำยาสร้างฟองโฟม

Prolicon Cream Foam
       เทคโนโลยีการผลิตคอนกรีตแบบ Cellular Lightweight Concrete (CLC): คอนกรีต CLC เกิดจากการ ผสมสารลดแรงตึงผิว (surfactant) หรือสารเพิ่มฟอง (foaming agent) ลงในซีเมนต์เพสต์ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ฟองอากาศ เหล่านั้นจะกลายเป็นช่องว่างอากาศ (air void) ที่มีขนาดเล็ก รวมตัวกันคล้ายเนื้อครีม เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นก้อนอิฐคอนกรีตที่มีรูพรุน และมีความแข็งแรง


     สารเพิ่มฟองโฟม เป็นส่วนหนึ่งของการปรับคุณสมบัติของ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต CLC ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ เช่นการนำไปผลิตเป็น อิฐมวลเบา, กำแพงมวลเบา, ผนังมวลเบา, การเทหล่อกับที่

     คอนกรีตมวลเบาแบบที่ใช้สารสร้างโฟมก่อน (ต่างจากสารกักกระจายฟองอากาศที่ใช้ในกรณีคอนกรีตกักกระจายฟองอากาศ เนื่องจากสารกักกระจายฟองอากาศจะให้ฟองที่มีขนาดเล็กกว่าและฟองจะมีความเสถียรกว่า) โฟมที่ใช้เป็นโฟมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน ฟองโฟมมั่นคง ให้ประสิทธิภาพดีเยี่ยมในการต้านทานความร้อน
โฟมโปรตีน (Protein Foams Concentrates)

     โฟมโปรตีนจากสัตว์ “มีลักษณะสีน้ำตาลเข้ม” มีกลิ่นแรง ผลิตขึ้นมาโดยการหมักโปรตีนจากส่วนแข็งของสัตว์ เช่น กีบและเขาสัตว์ ขนไก่ ฯลฯ ซึ่งเมื่อย่อยสลายจะให้เนื้อโฟมคุณภาพสูง เมื่อเก็บไว้นานจะมีปัญหาเรื่องการบูดเน่า เหม็น ผลิตภัณฑ์จะมีกลิ่นของโฟมติดด้วยนาน ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม

     โฟมโปรตีนจากพืช “มีลักษณะใส” มีส่วนผสมของสารลดความตึงผิวไม่มีกลิ่น เนื้อโฟมคุณภาพสูง โดยมีการเติมสารบางชนิดเพื่อเพิ่มคุณสมบัติพิเศษต่างๆรวมทั้ง ความต้านทานการกัดกร่อน ความต้านทานการสลายตัวของแบ็คทีเรีย รวมไปถึง การควบคุมความหนืด เมื่อเก็บไว้นานจะไม่มีปัญหาเรื่องการบูดเน่า เหม็น เป็นที่นิยมใช้อย่างมาก

การจำแนกประเภทโฟมตามอัตราการขยายตัว (Expansion Rate)

1.โฟมอัตราขยายตัวต่ำ (Low ExpansionFoam Concentrate) มีการขยายตัว 20 เท่า

2.โฟมอัตราขยายตัวปานกลาง (MediumExpansion Foam Concentrate) มีการขยายตัวจาก 20 ถึง 200 เท่า

3.โฟมอัตราขยายตัวสูง (High ExpansionFoam Concentrate) มีการขยายตัวจาก 200 ถึง1,000 เท่า
คุณภาพของโฟม

     โดยตรวจสอบได้จากอัตราการขยายตัว และความหนาแน่นของโฟมควรมีค่าอยู่ระหว่าง 40 ถึง 60 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร โฟมที่มีความหนาแน่นมากกว่านี้มีแนวโน้มจะแยกชั้น เนื่องจากโฟมไม่สามารถอุ้มน้ำได้ โฟมจะแตกตัวเป็นฟองขนาดใหญ่ขึ้น และน้ำจะแยกตัวออกอยู่ด้านล่าง ลักษณะโฟมที่ดีต้องไม่แยกตัวเมื่อตั้งทิ้งไว้ 15 นาที โฟมจะถูกนำไปผสมให้เข้ากับซีเมนต์ในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งถ้าผสมนานเกินไปจะทำให้ฟองอากาศแตก ปริมาณฟองอากาศในส่วนผสมก็จะลดลงได้ โดยปริมาณฟองอากาศที่ใส่หรือการออกแบบสัดส่วนผสมขึ้นอยู่กับกำลังอัดที่ต้องการ หน่วยน้ำหนักที่ต้องการ และคำแนะนำจากผู้ผลิตน้ำยา

ข้อแนะนำในการเก็บโฟม
     1.เก็บโฟมไว้ในถังบรรจุที่มีหลังคามุง ในที่ร่ม
     2.หลีกเลี่ยงการเก็บในที่มีอุณหภูมิสูงเกิน40 องศา ไม่เช่นนั้นแล้วโฟมจะเสื่อมคุณภาพจากความร้อนสูง
     3.ไม่เก็บโฟมในอุณหภูมิเยือกแข็ง(Freezing point)
     4.การเก็บโฟมไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม (กำหนดโดยผู้ผลิต) นอกจากจะทำให้โฟมไม่เสื่อมสภาพแล้ว ยังสามารถนำออกไปใช้งานได้ง่ายอีกด้วย
     5.ห้ามเก็บโฟมหลายยี่ห้อไว้ในที่เดียวกันในกรณีเป็นการเก็บระยะยาว
     6.ป้องกันน้ำเข้าไปในที่เก็บโฟม
     7.ป้องกันการปนเปื้อนจากส่วนผสมแปลกปลอมสารเคมีหรือน้ำมัน การเขย่า การกวนและการใช้ฝาปิดไม่เหมาะสมอาจจะทำให้โฟมเกิดการปนเปื้อนได้
     8.วาล์ว ตัวเชื่อมต่อ และท่อที่จะต้องสัมผัสกับโฟมอยู่ตลอดเวลา จะต้องเป็นวัสดุที่ไม่ทำให้เกิดสนิม

หรือการกัดกร่อน
วิธีการเลือกโฟมพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้เพื่อเลือกใช้โฟมให้ถูกต้องที่สุด
1.ราคาโฟม
2.อัตราการใช้งานของสารละลายโฟม(Application Rate)
3.อัตราการกำเนิดฟองโฟมต่อสารละลายโฟม
4.ความหนาแน่ของฟองโฟม น้ำหนักโฟมต่อลูกบาศก์เมตร
5.ความสามารถในการพยุงตัว
น้ำยาโฟม (Foam Concentrate) หมายถึงน้ำยาโฟมหรือโฟมสำเร็จรูปชนิดเข้มข้นจากโรงงานผู้ผลิต
โฟมละลายน้ำ (Foam Solution) หมายถึง น้ำยาโฟมที่ผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสม
ฟองโฟม (Foam) หมายถึง โฟมละลายน้ำที่ผ่านกระบวนการอัดแรงดัน เกิดเป็นฟองโฟม
อัตราการใช้งานของสารละลายโฟมสารละลายโฟม(Application Rate) หมายถึง ปริมาตร มอร์ต้าร์มวลเบา Wet Density 1000 kg/m2 : น้ำยาโฟม

คุณสมบัติของสารสร้างฟองโฟม สำหรับคอนกรีต: เป็นสารเคมีที่ใช้ผลิตคอนกรีตมวลเบาที่ประกอบด้วย

• สารลดความตึงผิวของนํ้า
• สารกระจายตัวของปูน
• สารพลาสติกเคลือบผิวฟอง
• สารปั้มเป่าพ่นคอนกรีต
• สารปรับสภาพฟองละเอียด
• สารกันคอนกรีตหดและขยายตัว
Back To Top